วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถักผ้าพันคอ

1 ประกอบแม่แบบ

แม่แบบจะมี4ชิ้นแต่ละชิ้นจะมีล็อกของแต่ละอันดังนั้นให้นำแม่แบบมาประกอบกันตามล็อกจะได้แม่แบบเป็นรูปวงกลม

การถักผ้าพันคอ

แผนการปฎิบัติงาน

วันที่31 ธันวาคม2552ระยะเวลา1วัน
รายการปฎิบัติงาน ค้นหาข้อมูลและขอคำแนะนำจาก คุณ แม่บุตรดี ปิตตาระเต
สถานที่ บ้านโนนศรีคูณ
ผู้รับผิดชอบ นาย สรายุทธ ปิตตาระเต
หมายเหตุ -


วันที่1-2มกราคม2553ระยะเวลา2วัน
รายการปฎิบัติงาน ไปซื้ออุปกรณ์ในการถักผ้าพันคอกับคุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต
สถานที่ อำเภอลำปลายมาศ
ผู้รับผิดชอบ นาย สรายุทธ ปิตตาระเต
หมายเหตุ ซื้ออุปกรณ์ไม่ครบจำนวนเพื่อนที่มาทำงาน


วันที่3-7มกราคม2553ระยะเวลา4วัน
รายการปฎิบัติงาน นัดเพื่อนมาทำที่บ้านโนนศรีคูณและถ้าทำไม่เสร็จก็นำกลับไปทำต่อที่บ้านและโรงเรียน
สถานที่ บ้านโนนศรีคูณ
ผู้รับผิคชอบ นายสรายุทธ นางสาวธัญญาเรศ นางสาวศิริพร นางสาวกรรนิการ์ นางสาวมณเฑียร
หมายเหตุ เพื่อนมีปัญหาไม่สะดวกในการเดินทางที่จะมาทำงาน


วันที่8มกราคม2553ระยะเวลา1วัน
รายการปฎิบัติงาน เก็บเกี่ยวผลผลิต
สถานที่ บ้านโนนศรีคูณ
ผู้รับผิคชอบ นายสรายุทธ นางสาวธัญญาเรศ นางสาวศิริพร นางสาวกรรนิการ์ นางสาวมณเฑียร
หมายเหตุ -


วันที่9มกราคม2553ระยะเวลา1วัน
รายการปฎิบัติงาน สรุปผลและทำโครงงาน
สถานที่ โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
ผู้รับผิคชอบ นายสรายุทธ นางสาวธัญญาเรศ นางสาวศิริพร นางสาวกรรนิการ์ นางสาวมณเฑียร
หมายเหตุ -

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 250บาท

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถักผ้าพันคอ

การเผยแพร่ข้อมูล

รูปภาพการสอนถักผ้าพันคอแบบใกล้ชิดหรือวิธีสอนแบบปากต่อปากเพื่อความสะดวกและง่ายตเอการสอนถักผาพันคอเพื่อประหยัดเวลาและสถานที่ด้วย


















การเผยแพร่บอกต่อและการสอนสมาชิกในกลุ่มถักผ้าพันคอ ทำให้เพื่อนในกลุ่มทำเป็นทุกคนและสามารถบอกต่อผู้ที่สนใจได้ถึงแม้จะติดขัดบ้างแต่ก็ทำเป็นตัวอย่างให้ดูได้เป็นอย่างดีทีเดียว
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณผู้ที่สนใจมากครับ

การถักผ้าพันคอ

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มของกระผมได้ศึกษาข้อมูลจาก คุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต บ้านโนนศรีคูณ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31240

การถักผ้าพันคอ

ข้อสังเกตระหว่างปฏิบัติงาน

1.ความเหมาะสมของระยะเวลา
ตอบ พอดีกับตัวผ้าพันคอและระยะเวลาที่ใช้ 10 วันนี้ทำให้ผ้าพันคอเพื่อมาส่งในเวลาที่ทันส่งงาน
2.การปฏิบัติ
ตอบ การถักผ้าพันคอชิ้นนี้เป็นการถักผ้าพันคอที่ง่ายสอนให้เพื่อนในกลุ่มทำได้ทุกคนและรวดเร็วจึงประเมินได้ว่าเพื่อนทุกคนในกลุ่มทำได้เป็นอย่างดีและสามารถบอกต่อคนที่สนใจได้
3.ผลการปฏิบัติ
ตอบ ตรงตามจุดมุ่งหมายทุกอย่างเพราะสมาชิกในกลุ่มมีความสมัครสมานสามัคคีในกลุ่มเป็นอย่างดี
4.ข้อบกพร่อง
ตอบ เพื่อนไม่มีพาหนะขับขี่ไปทำโครงงานที่บ้านโนนศรีคูณ และไม่สะดวกเพราะบ้านของทุกคนอยู่ห่างกันและอุปกรณ์ในการทำไม่พอที่จะให้เพื่อนทุกคนทำพร้อมกันจึงใช้วิธีบอกต่อ
5.จุดเด่น
ตอบ เพื่อนที่เห็นการถักผ้าพันคอส่วนมากขอลองทำดูบอกให้สอนทำส่วนใหญ่ถามหาว่าซื้อมาจากที่ไหนทำอย่างไรและบางคนอยากมีไว้เป็นของตนเอง

การถักผ้าพันคอ

ขั้นตอนการทดสอบผ้าพันคอ

เมื่อถักผ้าพันคอเสร็จแล้ว จะต้องนำผ้าพันคอนั้นไปทดสอบหรือตรวจเช็ค เพื่อดูให้แน่ใจว่าผ้าพันคอมีความบกพร่องหรือสึกหรอหรือพังบริเวณ ใดหรือเปล่าและสามารถตรวจสอบอย่างง่ายๆคือ
1.ตรวจดูบริเวณผ้าพันคอว่ามีตรงใดหลุดออกมาหรือไม่
2.ดูที่ระบายว่ามีที่ใดหลุดออกหรือขาดหรือไม่
3.นำมาทดลองใช้แล้วอึดอัดหรือไม่


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนได้ประสบการณ์จากการทำงามีความสามัคคีกันในการทำงานรวมถึงศึกษาข้อมูลจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้อยู่ไปอีกนาน ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

สถานที่จัดทำ

บ้านของคุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต บ้านโนนศรีคูณ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถักผ้าพันคอ



บทสัมภาษณ์
จากการที่ได้ไปสัมภาษณ์คุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต บ้านโนนศรีคูณ ตำบล เสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จากที่ได้สอบถาม คุณแม่บอกว่าได้ไปฝึกหัดถักผ้าพันคอจนชำนาญ กลุ่มของกระผมจึงต้องการศึกษาการทำผ้าพันคอเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆจนชำนาญ
ความสำคัญของมันคือ ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่ทุกคนจำเป็นต้องมีและการถักผ้าพันคอถือเป็นงานอดิเรกอีกงานหนึ่งและยังสามารถนำมาเป็นรายได้และช่วยลดรายจ่ายให้กับครอบครัวได้อีกด้วย




การสอบถามข้อมูลการถักผ้าพันคอ จากคุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต บ้านโนนศรีคูณ

การถักผ้าพันคอ



การแก้ปัญหา
เมื่อถอดออกจากแม่แบบแล้วด้ายหลุดหลุ่ยออกมาเราจะแก้ปัญหาดังนี้


การแก้ปัญหาเวลาถอดออกจากแม่แบบทุกครั้งจะมีปัญหาเรื่องด้ายหลุดออกมา ดังนั้นเราจึงต้องใช้เข็มโคเชในการถักดึงเนื้อผ้าเข้าหากันแล้วติดระบายด้วยความระมัดระวังค่อยๆจับผ้าที่ถักแล้วอย่างเบาๆทำอย่างช้าๆอย่างมีสติ

การถักผ้าพันคอ

วิธีการติดระบายผ้าพันคอ
เราจะนำด้ายที่ตัดไว้และแบ่งข้างละ 12ชิ้นมาใส่หรือมาติดที่ปลายแต่ละข้างของผ้าพันคอโดยแบ่งเป็นคู่ แล้วผ้าพันคอที่ถัก และถอดออกจากแม่แบบจะมีห่วงสำหรับติด ระบาย อยู่แล้วให้ติดได้เลย

เราจะค่อยๆถอดออกจากที่ล็อกทีละล็อกโดยนำผ้าออกจากล็อกอย่างช้าๆและระมัดระวังเพราะถ้านำผ้าออกจากแม่แบบหรือล็อกออกโดยไม่รู้วิธีจะทำให้ผ้าหลุด และถ้าไม่เชี่ยวชาญจะแก้ปัญหาได้ยากมาก เพราะถ้าหลุดแม้แต่เส้นเดียว หรือถักผิดอาจทำให้หลุดทั้งผืนได้ ดังนั้นการถักผ้าพันคอต้องมีสมาธิ

การถักผ้าพันคอ



การติดระบาย
จะดึงด้ายในม้วนออกมาตัดจำนวน 24 ชิ้นและแบ่งเป็นข้างละ 12ชิ้น เพื่อจะติดแต่ละเส้น วัดขนาดยาว 2 คืบ

การถักผ้าพันคอ



ถักผ้าพันคอจนได้ขนาดตามความต้องการและเหมาะสม





นี่คือรูปของผ้าพันคอที่ทำได้ขนาดเหมาะสมแล้ว หรือเป็นขนาดมาตรฐานที่พอดีกับคนทุกคน


การถอดผ้าออกจากแม่แบบ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถักผ้าพันคอ

3ตัดระบาย
ระบายที่จะใช้มัดผ้าพันคอส่วนปลายทั้งสองด้านจะตัดเป็น 24 ชิ้นยาวประมาณ 2 คืบเวลานำมาติดที่ผ้าพันคอจะนำมาติดทีละคู่ ทีละข้างของผ้าพันคอ และเชือกที่นำมาใช้ทำระบายต้องเป็นเชือกม้วนเดียวกับเชือกที่ใช้ถักตัวผ้าพันคอ เพื่อจะทำใหเวลามองดูแล้วนั้นกลมกลืนและสวยงาม



การถักตัวผ้าพันคอ
จะถักต่อเนื่องมาจากการเริ่มต้นถักและถักมาเรื่อยๆจนได้ความยาวที่เหมาะสม ความยาวจากด้ายไหมพรมที่ใช้ถักจะใช้ด้ายไหมพรมจำนวน 3 ม้วนเพราะเป็นขนาดที่พอดี ไม่สั้นหรือยาวเกินไป






และการถักแบบนี้ไม่เปลืองสถานที่ ถักง่ายถักได้เร็วแม้จะใช้เวลามากก็ตาม ทั้งยังเป็นวิธีการถักผ้าพันคอที่ง่ายเพราะมีแม่แบบเป็นตัวขึงไว้

การถักผ้าพันคอ

2 วิธีเริ่มถัก


นำเชือกไหมพรมแม่แบบและไม้เสียบลูกชิ้นนำเชือกไหมพรมติดไว้ที่แม่แบบแล้วเริ่มต้นถักจนครบหนึ่งรอบแล้วทำการถักไปเรื่อยๆจนได้ขนาดของผ้าพันคอตามต้องการ

การถักผ้าพันคอ

บทคัดย่อ
เนื่องจากชาวบ้านบ้านโนนศรีคูณ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการใช้วิธีการถักผ้าผพันคอ ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าและหาข้อมูลของชาวบ้าน บ้านโนนศรีคูณ ทางคณะผู้จัดทำจึงคิดหาวิธีที่จะถักผ้าพันคอให้ง่ายขึ้นจึงเกิดแนวคิดในการถักผ้าพันคอเพื่อให้เกิดความสะดวกในการถักผ้าพันคอ โดยการเอาแม่แบบในการถักผ้าพันคอที่ทำแบบสำเร็จรูปมาใช้ในการถักผ้าพันคอโดยง่ายและไม่เสียเวลามาก
และยังคิดว่าแม่แบบนี้ยังสามารถให้เกิดสิ่งอื่นในการถักผ้าพันคอได้หรือไม่ เช่น หมวกไหมพรม ปลอกแขน เสื้อกันหนาว เป็นต้น ซึ่งการคิดที่จะทำสิ่งอื่นที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากแม่แบบที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำผลิตภัณฑ์ได้หลายๆอย่างทั้งยังเป็นการรู้จักประยุกต์ใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถักผ้าพันคอ


ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ขั้นเตรียม

คือ เตรียมอุปกรทุกชนิดมาให้พร้อมให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ
1 เข็ม
2 ไม้เสียบลูกชิ้น
3 กรรไกร
4 ด้วยไหมพรม

5 แม่แบบ

การถักผ้าพันคอ

กิติกรรมประกาศ

โครงงานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน การนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรื่องการถักผ้าพันคอเพื่อมีประโยชน์ไว้ใช้ตามฤดูกาล ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความอนุเคราะห์จากครู ศิริพร วีระชัยรัตนา ที่ท่านได้สอนการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการทำโครงงานเพื่อที่จะนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ขอกราบขอบพระคุณ คุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต ที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการถักผ้าพันคอแบบง่ายและรวดเร็ว
ขอกราบขอบพระคุณนาย โสภณ สุรโยธี ผู้อำนวยการสถานศึกษา
และขอกราบขอบพระคุณ ครู ศิริพร วีระชัยรัตนา ครูผู้สอนประจำรายวิชา และยังเป็นผู้ฝึกสอนการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเป็นที่ปรึกษาในการทำโครงงาน

การถักผ้าพันคอ



ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนได้ประสบการณ์จากการทำงาน มีความสามัคคีกันในการทำงาน รวมถึงไศกษาข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้อยู่คู่กับคนในท้องถิ่นไปอีกนาน ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป
การถักผ้าพันคอให้ผลดีกับตัวผู้ปฏิบัติหลายประการ เช่น
1)ได้ใช้วัสดุที่หาง่ายตามท้องตลาดมาใช้เกิดประโยชน์
2)เกิดสามัคคีในหมู่คณะและการได้ใช้ความคิดเห็นร่วมมือของคนในหมู่คณะ
3)ช่วยเผยแพร่และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4)ใชประโยชน์ได้จริงจากผลของการปฏิบัติผลงาน
5)ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
6)นำไปเป็นรายได้เสริมของครอบครัวได้

การถักผ้าพันคอ


ความสำคัญของโครงงาน

ผ้าพันคอเป็นเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งสำหรับคนทั่วประเทศ รวมถึงคนส่วนใหญ่ในอำเภอห้วยแถลง ในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นการถักผ้าพันคอจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนน้อยไม่ต้องการถักเองคนส่วนมากจะชอบแบบสำเร็จรูปเลย ดังนั้น เราสามารถนำวัสดุหลายรูปแบบมาใช้ถักผ้าพันคอได้ เช่น การถักผ้าพันคอ การถักผ้าพันคอด้นเครื่องทอ ฯลฯ เป็นต้นทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นงานหัตถกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่ต้องการใช้ ซึ่งเป็นความต้องการที่ไม่มีวันสิ้นสุดของมนุษย์
ในอำเภอห้วยแถลงเองมีหลายที่ ที่ทำผ้าพันคอ แต่ในที่นี้ได้นำข้อมูลมาจากคุณแม่บุตรดี ปิตตาระเต บ้านโนนศรีคูณ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ที่ได้มาสอนวิธีการถักผ้าพันคคอเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนและยังสามารถทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ในครอบครัว เนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ที่ทำมาใช้ เช่น แม่แบบนั้นใช้ถักผ้าพันคอได้หลายผืน และไม่ใช่แต่ทำผ้าพันคอเท่านั้นยังสามารถทำสิ่งอื่นๆได้อีกมากมายหลายอย่างตามความต้องการของผู้ทำเอง

การถักผ้าพันคอ



โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง การถักผ้าพันคอ
คุณครูผู้สอน คุณครูศิริพร วีระชัยรัตนา
รหัสวิชา ง40202
ชื่อวิชา การนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
สมาชิกในกลุ่ม
นาย สรายุทธ ปิตตาระเต ชั้น ม. 4/2เลขที่ 5
นางสาว ธัญญาเรศ มงคลชาติ ชั้น ม. 4/2เลขที่ 8
นางสาว ศิริพร ชัยสิทธิ์ ชั้น ม. 4/2เลขที่ 9
นางสาวกรรณิการ์ แผ้วไธสง ชั้น ม.4/2 เลขที่ 10
นางสาว มณเฑียร มนัสศิลา ชั้น ม. 4/2 เลขที่ 26